ผลการดำเนินงานกิจกรรมที่ 6
การดำเนินกิจกรรมครั้งที่ 6 พร้อมเข้าปกแข็ง เป็นกิจกรรมชื่อ “การจัดการความรู้พระไตรปิฎกในพระพุทธศาสนา เพื่อการเผยแพร่สู่ระดับสากล” จัดดำเนินการในรูปของการประชุมเชิงปฏิบัติการ สถานที่คือ ห้องประชุมเอกาทศรถ 301 ชั้น 3 อาคารเอกาทศรถ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก ในวันที่ 27 มกราคม 2561 ด้วยความอนุเคราะห์สถานที่จากมหาวิทยาลัยนเรศวร ที่มีศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี เป็นอธิการบดี
กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการโดย หัวหน้าโครงการวิจัยและดำเนินการจัดการความรู้ คือ พระเทพปริยัติเมธี รศ.,ดร. รองอธิการบดี วิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พร้อมด้วยคณะผู้แปลทั้งที่เป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ รวม 13 รูป/คน คือ
1. Venerable Assoc. Prof. Dr. W. Piyaratana
2. ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี
3. พระราชวชิรเมธี รศ.,ดร.
4. Dr. Samantha Rajapaksha
5. ดร. ณวพงศ์ธร นิติภูวนนท์
6. นายวัฒนะ กัลป์ยาณ์พัฒนกุล
7. พระศรีสมโพธิ, ดร.
8. ดร. ศิริโรจน์ นามเสนา
9. ดร. บุญส่ง กวยเงิน
10. พระมหาอุดร อุตฺตโร, ดร.
11. พระครูสิริคีรักษ์, ดร.
12. ผศ. อานนท์ เมธีวรฉัตร
13. รศ. ดร. วรกฤต เถื่อนช้าง
ในการดำเนินกิจกรรม ได้จัดเป็น 2 ภาค คือ ภาคเช้า และภาคบ่าย โดยช่วงเช้า จะเป็นการบรรยายและอธิบาย โดยคณะผู้จัดทำการแปลและผู้ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ ในช่วงบ่ายจะเป็นการเสวนา ซักถามและตอบคำถาม เกี่ยวกับกระบวนการ วิธีการ และการทำความเข้าใจ เกี่ยวกับการศึกษาพระไตรปิฎก จากฉบับแปลทั้ง 2 ภาษา จากจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 150รูป/คน รายละเอียดและผลการดำเนินการ มีดังนี้
กิจกรรมการจัดการความรู้พระไตรปิฎกในพระพุทธศาสนาเพื่อการเผยแพร่สู่ระดับสากล วันที่ 27 มกราคม 2561 เวลา 08.00 น. – 16.00 น. ณ ห้องประชุมเอกาทศรถ 301 ชั้น 3 อาคารเอกาทศรถ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
ช่วงเวลา 08.45-08.50 น. ได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี ได้เป็นผู้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงานประชุมและกล่าวถึงความสำคัญและประโยชน์ของกิจกรรมในครั้งนี้ โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นการเผยแพร่พระไตรปิฎกในพระพุทธศาสนาให้แพร่หลายและธำรงไว้ตามหลักในพระพุทธศาสนา
เวลา 08.50-09.00 น. พระเทพปริยัติเมธี รศ.,ดร. หัวหน้าโครงการ ได้กล่าวเปิดงานการประชุม เชิงปฏิบัติการกิจกรรมการจัดการความรู้พระไตรปิฎกในพระพุทธศาสนาเพื่อการเผยแพร่สู่ระดับสากลโดยได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการและเป้าหมายการดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับทราบตลอดจนกล่าวถึงเจตนารมณ์ของโครงการนี้ซึ่งจะเป็นโครงการที่มีคุณูปการต่อพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่งต่อไปในอนาคต
เวลา 09.00-09.30 น. พระเทพปริยัติเมธี รศ.,ดร. ได้กล่าวปาฐกถาถึงความสำคัญของพระไตรปิฎกในพระพุทธศาสนาของโครงการนี้จะช่วยเผยแพร่คำสอนและธำรงไว้ของพระพุทธศาสนา เกี่ยวกับที่มา ความสำคัญ หลักคำสอนพระไตรปิฎกในพระพุทธศาสนาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับและเชื่อมโยงกับโครงการในวันนี้ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้เข้าร่วมโครงการนี้ ทั้งพระสงฆ์ คฤหัสถ์ อุบาสก และอุบาสิกาได้ตระหนักถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการที่ได้ดำเนินการในครั้งนี้
กลุ่มที่ 1 พระไตรปิฎกภาษาบาลี-อังกฤษเป็นการบรรยายเกี่ยวกับประเด็นรูปแบบหลักการ วิธีการแปล พระไตรปิฎกภาษาบาลี-อังกฤษ โดยวิทยากรรับเชิญ Ven. Dr. W. Piyaratana ได้กล่าวถึงประเด็นรูปแบบหลักการ วิธีการแปล พระไตรปิฎกภาษาบาลี-อังกฤษเพื่อให้ผู้สนใจทั้งพระสงฆ์ คฤหัสถ์ อุบาสก และอุบาสิกาได้มีความเข้าใจของหลักการ วิธีการแปล พระไตรปิฎกภาษาบาลี-อังกฤษ ซึ่งวิทยากรได้ยกตัวอย่างเล่มการแปลพระไตรปิฎกภาษาบาลี-อังกฤษ ทีฆนิกาย เล่ม 1 และอังคุตรนิกาย เล่ม 1 ซึ่งกล่าวถึงการให้เหตุผลการจัดทำการแปลพระไตรปิฎก หากไม่มีการศึกษาภาษาบาลีในพระไตรปิฎกหรือทำความเข้าใจจะทำให้พระพุทธศาสนาจะหมดไป เพราะฉะนั้นพระพุทธศาสนิกชนจะต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ในพระไตรปิฎก ดังเช่น นักศึกษาจากประเทศสิงคโปร์ที่เป็นพระพุทธศาสนิกชน มีความเข้าใจในพระพุทธศาสนาว่าพระพุทธศาสนาแห่งความทุกข์ ซึ่งเป็นทัศนคติทางลบ ซึ่งเป็นเหตุผลที่เข้าใจผิดเบื้องต้น ด้วยเหตุเช่นนี้ จึงเป็นหน้าที่ของพุทธศาสนิกชนทุกคนที่ต้องช่วยกันหรือเป็นหน้าที่สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้เกิดขึ้นในสังคม ท่านกล่าวว่าเหตุผลที่เราจะต้องทำความเข้าใจว่าเราไม่ศึกษาพระพุทธศาสนาแล้วจะทำให้หมดไป อย่างที่เช่นในอังคุตรนิกายที่กล่าวว่าสาเหตุพระพุทธศาสนาจะหมดไป หากพระสงฆ์ผู้ที่สืบทอดพระพุทธศาสนา 5 ประการ คือ 1) ไม่ฟังธรรม 2)ไม่ปฏิบัติตามธรรม 3) ไม่ใส่ใจพระธรรม 4) ไม่ขยายหรือจัดหมวดหมู่ตีความพระธรรมให้ถูกต้อง 5) ไม่อธิบายธรรมะหรือพระธรรมด้วยความถูกต้องให้เข้าใจ หากขาดทั้ง 5 ประการนี้ จะทำให้พระพุทธศาสนาจะหมดไปนี้เป็นเหตุผลที่เราจึงต้องศึกษาและทำความเข้าใจว่าการศึกษาพระธรรมนั้นต้องอธิบายให้ถูกต้อง มิฉะนั้นคนที่ฟังไปจะเข้าใจผิด ดังนั้นพระพุทธศาสนาได้ยั่งยืนมากว่า 2,500 ปี นั้นจะต้องมีการตีความ เพราะฉะนั้นการตีความ คือการทำความเข้าใจกับพระบาลี การจะทำความเข้าใจอย่างไรเบื้องต้นจะต้องมีการแปล ซึ่งหลักในการแปล คือ จึงต้องคำนึงถึงความหมาย เพราะว่าถ้าแปลผิด คนฟังเข้าใจผิด คนฟังก็จะเชื่อผิด ซึ่งจะทำให้เกิดอันตราย นี้เป็นเหตุผลที่จะต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้อง หรือการแปล คำว่า อัตตา มีผู้แปลผิด จะเข้าใจว่าตัวเองสำคัญที่สุด เพราะฉะนั้นจึงทำให้เกิดอันตรายในการปฏิบัติตัวในการที่จะถ่ายทอดให้ถูกต้องเพราะฉะนั้นคำที่มีการแปลนั้นผู้ที่จะศึกษาพระบาลีจะต้องทำความเข้าใจนั้นบริบทด้วย เช่น คำหนึ่งคำอาจะมีหลายความหมายเพราะฉะนั้น การที่จะตีความหรือการแปลต้องมาดูความหมายว่าอันใด เหมาะสมที่จะอยู่ในบริบทนั้น เพราะการแปลจากภาษาหนึ่งไปอีกภาษาหนึ่งนั้นบางที่ต้องทำความเข้าใจว่าด้วยไม่ครอบคลุมทั้งหมด เช่น ธรรมะที่พระพุทธเจ้าสั่งสอน 3 ประการ 1) ไม่ทำบาป 2)ทำความดี และ3) ทำจิตให้เป็นกุศล เพราะฉะนั้นในการแปลผู้ที่จะแปลจะต้องคำนึงถึงจุดนี้ บางคำจะต้องแปลทับศัพท์เพื่อไม่ให้เกิดความคาดเคลื่อนในความหมาย ซึ่งการแปลในครั้งนี้ไม่ยึดหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ และหลังจากแปลเสร็จแล้วจะมีการเผยแพร่ผ่านออนไลน์ในเวบไซต์
และวิทยากร Dr. Samantha Rajapaksha ได้กล่าวประเด็นรูปแบบหลักการ วิธีการแปล พระไตรปิฎกภาษาบาลี-อังกฤษ เช่นเดียวกัน ซึ่งวิทยากรได้ยกตัวอย่างการแปลพระไตรปิฎกภาษาบาลี-อังกฤษ อังคุตรนิกาย เล่มที่ 3 และมัชฌิมนิกาย เล่มที่ 2 ได้กล่าวประเด็นประวัติศาสตร์ของการแปลที่มามานนานแล้วตั้งแต่สมัยอังกฤษเข้าไปยึดครองประเทศอินเดียแล้วนำองค์ความรู้ต่างๆออกมาซึ่งในสมัยนั้นจะมีการแปลภาษาบาลีเป็นภาษาสันสกต คือเป็นการถ่ายเป็นตัวอักษร ซึ่งไม่ใช่การแปลเนื่องจากภาษาบาลีไม่มีตัวอักษรใช้ ได้ถ่ายออกมาเป็นภาษาสันสกฤตแต่เป็นบางส่วน เมื่อประเทศอังกฤษเข้ามายึดครองก็ได้นำเอาฉบับสันกฤตนำไปแปลเป็นอักษรโรมัน เพราะฉะนั้นอักษรภาษาบาลีที่มีการแปลอยู่ในภาษาต่างๆจึงเป็นการถ่ายตัวอักษรไม่ใช่การแปล ที่ทำกันครั้งนี้เป็นการให้ความหมายศัพท์แต่ละคำของภาษาบาลี ดังนั้นในเมื่อมีการศึกษาก็จะต้องทำความเข้าใจกับอักษรโรมัน ในการทำความเข้าใจกับพระพุทธศาสนานั้นจะต้องทำ 3 ประการ คือ 1) ต้องอ่านบาลีให้รู้ว่าอ่านอย่างไร 2) อ่านแปล และ3)ศึกษาจากอัฐกถา ซึ่งเป็นการขยายความศัพท์แต่ละคำจะแปลว่าอย่างไร ซึ่งสิ่งสำคัญคือต้องศึกษาพระไตรปิฎก นี้จึงเหตุผลว่าการจัดทำการแปลพระไตรปิฎกขึ้นจำนวน 45 เล่ม ที่เป็นลักษณะคำต่อคำออกมาโดยเป็นการบรรยายของวิทยากรทั้ง 2 ท่านเป็นภาษาอังกฤษ นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่จะเป็นการเผยแพร่การแปลพระไตรปิฎกภาษาบาลี-อังกฤษสู่วงกว้างต่อไป
นอกจากนี้ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี ได้กล่าวสรุปประเด็นสาระสำคัญของวิทยากร ทั้ง 2 ท่าน ที่บรรยายหลักการแปลเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการนี้ได้มีความเข้าใจ เข้าถึงหลักการ วิธีการแปล พระไตรปิฎกภาษาบาลี-อังกฤษเพิ่มเติมและตอบข้อซักถามที่จะนำไปสู่การศึกษาและความเข้าใจอย่างถ่องแท้
และส่วนกลุ่มที่ 2 พระไตรปิฎกภาษาบาลี-ภาษาไทยเป็นการบรรยายเกี่ยวกับประเด็นรูปแบบ หลักการ วิธีการแปลพระไตรปิฎกภาษาบาลี-ภาษาไทยโดยวิทยากรรับเชิญ 1) ดร.ณวพงศ์ธร นิติภูวนนท์ ป.ธ.9 และ 2) นายวัฒนะ กัลยาณ์พัฒนกุล, ป.ธ.9 ซึ่งเป็นการนำเสนอการบรรยายยกตัวอย่าง หลักการ วิธีการแปล พระไตรปิฎกภาษาบาลี-ภาษาไทย ที่ได้แปลพระไตรปิฎกภาษาบาลี-ภาษาไทย ชนิดคำต่อคำ (Word by word translation) จำนวน 20 เล่ม เพื่อประโยชน์ในการศึกษาพระธรรมคำสอนที่ปรากฏในพระไตรปิฎกฉบับบาลี ให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้และลึกซึ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเข้าใจในศัพท์บาลีที่มีการแปลควบคู่กันในไป ด้วยการแปลแบบคำต่อคำ ทำให้เข้าใจได้อย่างทันที่โดยไม่ต้องเสียเวลาเปิดดูความหมายของแต่ละคำจากพจนานุกรมที่เกี่ยวข้อง ทำให้ประหยัดเวลาและเกิดความรวดเร็วในการศึกษาและทำความเข้าใจต่อไป
ช่วงบ่ายเวลา 13.00-14.45 น. เป็นประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ประเด็นการศึกษาพระไตรปิฎกศึกษาจากคู่มือเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความเห็นหลักการพระไตรปิฎกศึกษาจากคู่มือภาษาบาลี-ภาษาอังกฤษและพระไตรปิฎกศึกษาจากคู่มือภาษาบาลี-ภาษาไทย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มที่ 1 พระไตรปิฎกศึกษาจากคู่มือภาษาบาลี-ภาษาอังกฤษ ห้อง 208 โดยวิทยากร Ven. Dr. W. Piyaratana, Dr. Samantha Rajapaksha และศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี และกลุ่มที่ 2 พระไตรปิฎกศึกษาจากคู่มือภาษาบาลี-ภาษาไทย ห้อง 209 โดยวิทยากร ดร.ณวพงศ์ธร นิติภูวนนท์ ป.ธ.9 และนายวัฒนะ กัลยาณ์พัฒนกุล, ป.ธ.9
ทั้งนี้การประชุมเชิงปฏิบัติการใน2 กลุ่มนี้เป็นการแลกเปลี่ยนความเห็นถึงหลักการแปล วิธีการแปล ให้มีความเข้าใจในหลักพระไตรปิฎกถูกต้องที่สามารถนำไปเผยแพร่พระไตรปิฎกได้อย่างถูกต้องและเข้าใจตรงกันในรูปแบบของการยกตัวอย่างในการแลกเปลี่ยนความเห็น การซักถาม ข้อเสนอแนะ และสรุปแนวทางหลักการแปล วิธีการแปล พระไตรปิฎกศึกษาจากคู่มือภาษาบาลี-ภาษาอังกฤษและพระไตรปิฎกศึกษาจากคู่มือภาษาบาลี-ภาษาไทยในการดำเนินโครงการครั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดในการเผยแพร่พระไตรปิฎกต่อไป
นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความเห็น ถึงหลักการแปล วิธีการแปลเพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจถึงกระบวนการดำเนินกิจกรรมครั้งนี้ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมและ คณะผู้จัดกิจกรรมครั้งนี้ได้นำไปใช้ประโยชน์
และในช่วงเวลา 14.45-15.00 น. พระราชวชิเมธี,ผศ.ดร.ได้กล่าวปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการกิจกรรมการจัดการความรู้พระไตรปิฎกในพระพุทธศาสนาเพื่อการเผยแพร่สู่ระดับสากลในครั้งนี้ว่านับเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้เข้าร่วมและในพระพุทธศาสนาเพื่อนำไปสู่หลักการแปล วิธีการแปลมีความถูกต้องและความเข้าใจที่สอดรับกัน ตลอดจนขอบคุณผู้เข้าร่วมที่ได้ให้ข้อเสนอแนะและข้อสังเกตในการดำเนินโครงการครั้งนี้